สูตรการทำเบียร์โดยส่วนใหญ่จะบอกเราถึงข้อมูลปริมาณน้ำ wort ก่อนต้ม แต่จริงๆ แล้วปริมาณน้ำ wort ที่เหลือหลังต้มมีความสำคัญกว่า
ปริมาณน้ำ wort มีความสำคัญมาก เพราะมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเข้มข้นของทุกๆ อย่างที่ละลายอยู่ใน wort เรา ทั้ง SG, ความขม และสี ทั้งหมดนี้ถูกกระทบโดยปริมาณน้ำ wort ทั้งสิ้น เพราะว่าหม้อต้ม wort ของ brewer จะมีอัตราการระเหยของน้ำต่างๆ กัน ตามรูปร่างและวัสดุที่ใช้ทำหม้อ ความหนา และวิธีการให้ความร้อนทำให้เราไม่สามารถหาสูตรได้ตายตัวว่าจะต้องใส่น้ำก่อนต้ม wort ปริมาณเท่าไหร่
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ gravity ของ wort เป็นอย่างที่เราต้องการคือการวัด gravity หลังต้ม และใส่น้ำร้อนเพิ่มเพื่อปรับ gravity วิธีนี้ gravity ของ wort หลังต้มจำเป็นที่จะต้องสูงกว่าค่าที่เราต้องการนิดหน่อยถึงจะสามารถใช้วิธีนี้ได้ และเคสส่วนใหญ่เมื่อเราปรับให้ปริมาณ wort ใกล้เคียงกับค่าตามสูตรแล้วค่าความขมของเบียร์ และรสชาติจะใกล้เคียงกับค่าที่เราต้องการ
การใช้เทคนิคนี้ เราต้อง
1. รู้ปริมาณ wort หลังต้มที่แม่นยำ
2. คำนวนว่ามีปริมาณ extract ที่ละลายอยู่ใน wort เท่าไหร่
3. คำนวนหาค่าน้ำร้อนที่ต้องใช้ในการปรับ
4. เพิ่มน้ำลงไปในหม้อต้ม
วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาปริมาณ wort คือการใช้ไม้ยาวที่ทำ scale ไว้แล้วจุ่มลงไปในหม้อต้ม เพื่อวันปริมาณ wort
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าสูตรบอกว่าควรได้ปริมาณ wort 5 gallons (19 L) และมีค่า 1.048 SG (12° Plato) แต่เวลาเราต้มจริงแล้วเราได้ 4.3 gallons (16.3 L) และมีค่า 1.055 SG (13.5° Plato) หลังการต้ม
ขั้นแรกให้เราหาว่ามี extract อยู่เท่าไหร่ ด้วยการ
ปริมาณ extract ที่มีอยู่ (kg) = (L ของ wort) × (specific gravity) × (° Plato) = (16.3) × (1.055) × (0.135) = 2.32 kg
ขั้นที่สองหาว่าต้องใช้น้ำร้อนเท่าไหร่ในการปรับ
ปริมาณน้ำควรเป็น = (kg extract present) ÷ {(target SG) × (target° Plato)} = (2.32) ÷ {(1.048) × (0.12)} = 18.45 L
หลังจากคำนวนตัวเลข 2-3 ตัวแล้วเราก็ใส่น้ำร้อนลงไปให้ได้ปริมาณ wort ที่เราคำนวนได้ ให้ wort เรามีปริมาณ 18.45L ด้วยการใส่น้ำเพิ่มเข้าไป 2.15L